กลิ่นน้ำหอมช่วยสร้าง brand identity ได้จริงหรือไม่
top of page

กลิ่นน้ำหอมช่วยสร้าง brand identity ได้จริงหรือไม่

กลิ่นน้ำหอมช่วยสร้าง brand identity

ค้นพบความมหัศจรรย์ของกลิ่นหอมในการช่วยสร้าง brand identity ให้กับธุรกิจ


ในโลกของการดำเนินธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการให้ความสำคัญกับการสร้าง brand identity หรือ อัตลักษณ์ความเป็นตัวตนของธุรกิจ ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถช่วยส่งเสริมและผลักดันให้ธุรกิจมีความโดดเด่นและเป็นที่น่าจดจำ จนสามารถยืนหยัดและเติบโตท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกวันได้อย่างยั่งยืน โดยนอกเหนือจากการสร้าง brand identity ให้กับธุรกิจผ่านการออกแบบโลโก้หรือการเลือกสีที่จะนำมาใช้ในงานดีไซน์หรือสื่อโฆษณาแล้วนั้น การสร้าง brand identity ผ่านกลิ่นน้ำหอม ก็นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การสร้างอัตลักษณ์ให้กับธุรกิจในรูปแบบใหม่ ที่หลาย ๆ ธุรกิจนิยมนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการช่วยสะท้อนถึงคุณค่าและภาพลักษณ์ที่ธุรกิจต้องการสื่อสารไปยังผู้บริโภคกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น


การสร้าง brand identity คืออะไร ?

การสร้าง brand identity ให้กับธุรกิจถือเป็นการวางกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่สื่อสารถึงความเป็นตัวตนของแบรนด์ในสายตาของผู้บริโภคออกมาได้อย่างชัดเจนและโดดเด่น ผ่านทางโลโก้ สีสัน การออกแบบผลิตภัณฑ์ เสียง หรือแม้แต่กลิ่นหอม (scent marketing) เพื่อประโยชน์ในการช่วยให้ brand identity ของแบรนด์ธุรกิจสามารถสร้างความประทับใจและการจดจำในใจของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ง่ายขึ้น


และเมื่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีโอกาสได้สัมผัสกับ brand identity และได้รับประสบการณ์ที่ดีจากแบรนด์ธุรกิจตั้งแต่ในครั้งแรกแล้วนั้น ก็จะยิ่งเป็นการช่วยสร้างโอกาสให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นและไว้วางใจจนอยากที่จะบอกต่อหรือกลับมาซื้อสินค้าและบริการซ้ำอีกครั้ง จนทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นและยั่งยืนกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อีกทั้งยังสามารถยืนหยัดในตลาดที่มีการแข่งขันสูงเพื่อการรักษากลุ่มลูกค้าเก่าและดึงดูดกลุ่มลูกค้าใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง


ความสำคัญของกลิ่นหอมกับการช่วยสร้าง brand identity

ศาสตร์แห่งกลิ่นหอม เป็นหนึ่งในศาสตร์และศิลป์ที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยสร้างความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งระหว่างประสบการณ์ที่กลิ่นหอมต้องการจะมอบให้กับผู้คน และภาพจำ ความคุ้นเคย รวมถึงความผูกพันที่ผู้คนจะได้รับจากการสูดดมกลิ่นหอมเหล่านั้น เพราะฉะนั้นแล้ว แบรนด์ธุรกิจหลาย ๆ แบรนด์ในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร้านค้าเครื่องสำอาง ร้านขายเสื้อผ้า ห้างสรรพสินค้า และโรงแรม ที่ต้องการเสริมสร้างบรรยากาศที่ตรงกับ brand identity ของธุรกิจ เพื่อการมอบประสบการณ์ที่เหนือระดับให้กลับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เข้ามาใช้บริการ


จึงไม่เพียงนำเอาความสามารถพิเศษในการช่วยกระตุ้นความรู้สึกสร้างและความทรงจำของกลิ่นหอม มาใช้ประโยชน์ในการช่วยสร้าง brand identity ที่มีความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจของตนเองเท่านั้น แต่ยังมีการนำเอากลิ่นหอมมาใช้ประโยชน์ในการช่วยกระตุ้นความทรงจำ แล้วพาผู้คนเดินทางย้อนกลับไปยังช่วงเวลาหรือสถานที่ที่เคยมีความหมายในชีวิตของพวกเขา เพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถสื่อสาร brand identity ของธุรกิจไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ในระดับที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น จนสามารถสร้างความผูกพันทางอารมณ์ที่กลุ่มลูกค้าจะมีต่อธุรกิจได้อย่างยั่งยืนมากที่สุด


ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้กลิ่นหอมในการสร้าง brand identity

  1. Starbucks Starbucks เป็นหนึ่งในแบรนด์ธุรกิจที่หันมาให้ความสำคัญกับการทำ scent marketing ผ่านการนำเอากลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์จากเมล็ดกาแฟคุณภาพของ Starbucks มาใช้ประโยชน์ในการสร้าง brand identity ให้กับธุรกิจ เพราะฉะนั้นแล้ว สิ่งที่ลูกค้าทุกคนจะสามารถสัมผัสได้ในทุกครั้งที่เดินเข้าไปในร้าน Starbucks คือ กลิ่นหอมของกาแฟที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและมีความสุขเมื่อเดินเข้ามาในร้าน เนื่องจาก Starbucks มักจะมีการเลือกใช้เมล็ดกาแฟที่มีกลิ่นหอมและเครื่องทำกาแฟที่สามารถสกัดกลิ่นออกมาได้เป็นอย่างดี เพื่อช่วยทำให้กลิ่นหอมของเมล็ดกาแฟเหล่านั้นหมุนเวียนอยู่ภายในร้านได้ตลอดทั้งวันจนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ brand identity ของ Starbucks ที่ผู้บริโภคจะสามารถจดจำได้อย่างชัดเจน

  2. Singapore Airlines Singapore Airlines เป็นแบรนด์สายการบินระดับโลกที่มีการสร้าง brand identity ของตนเองขึ้นมาด้วยการนำเอาน้ำหอมกลิ่นพิเศษที่มีชื่อว่า Stefan Floridian Waters มาใช้เป็นน้ำหอมของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน อีกทั้งยังมีการนำน้ำหอมดังกล่าวมาผสมไว้กับ hot towels ที่ให้บริการก่อนขึ้นเครื่องบิน เพื่อเป็นการช่วยเสริมสร้างบรรยากาศที่หรูหราและผ่อนคลายให้กับผู้โดยสารทุกท่าน และเมื่อเร็ว ๆ นี้ Singapore Airlines ยังได้มีการร่วมมือกับแบรนด์น้ำหอมของประเทศสิงคโปร์อย่าง Scent by SIX เพื่อรังสรรค์กลิ่นน้ำหอมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสายการบินในชื่อของ Batik Flora ขึ้นมาสำหรับนำมาใช้ในทุกเที่ยวบินทั่วโลก เพื่อเป็นการช่วยยกระดับประสบการณ์ในการเดินทางและช่วยให้ผู้โดยสารทุกคนสามารถจดจำและนึกถึง brand identity ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของสายการบินได้อย่างแท้จริง

  3. Westin Hotels & Resorts เชื่อว่าผู้ที่มีโอกาสได้เข้าพักที่โรงแรมและรีสอร์ตในเครือ Westin Hotels & Resorts น่าจะต้องมีความคุ้นเคยกับกลิ่นน้ำหอม "White Tea" อันเป็นเอกลักษณ์ ที่กระจายตัวอยู่ภายในบริเวณล็อบบี้และพื้นที่ส่วนกลางของโรงแรมเพื่อรอต้อนรับแขกผู้เข้าพักทุกคนได้เป็นอย่างดี โดย Westin Hotels & Resorts ถือเป็นอีกหนึ่งเครือโรงแรมหรูระดับโลกที่ได้มีการออกแบบกลิ่นหอมสะอาดและสดชื่นของน้ำหอม White Tea ขึ้นมาเพื่อช่วยยกระดับ brand identity ของตนเองให้มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกเหนือจากกลิ่นหอมอบอวลของชาขาวที่พร้อมช่วยกระตุ้นความรู้สึกและความประทับใจแรกของผู้เข้าพักแต่ละคนให้มีความเชื่อมโยงกับบรรยากาศในการพักผ่อนที่ผ่อนคลายและหรูหราของโรงแรมและรีสอร์ตในเครือ Westin Hotels & Resorts แล้วนั้น Westin Hotels & Resorts ยังมีการสร้างสรรค์ก้านไม้หอม เทียนหอม และผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่สมบูรณ์แบบขึ้นมา เพื่อช่วยให้แขกผู้เข้าพักสามารถพากลิ่นหอมของ Westin Hotels & Resorts กลับบ้านไปได้อีกด้วย




สำหรับเจ้าของธุรกิจที่กำลังมองหาโรงงานน้ำหอม บริษัทน้ำหอม รับผลิตน้ำหอม ออกแบบน้ำหอม ทำแบรนด์น้ำหอม ตลอดจนการสร้างแบรนด์น้ำหอม Scent And Sense คือ บริษัทน้ำหอมที่พร้อมให้บริการด้าน Scent Experience ประสบการณ์ด้านกลิ่น ( Scent Marketing, Sensory Marketing, Scent Ci Brand, Brand sensory และ Brand Identity ) แบบครบวงจร ที่พร้อมมุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำด้านการออกแบบกลิ่นในเอเชีย ที่สามารถสร้างสรรค์กลิ่นหอมและกลิ่นเอกลักษณ์ “Signature Scent” ในรูปแบบของสินค้าและบริการ ที่จะสามารถตอบโจทย์กับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและเครื่องหอม รวมถึงธุรกิจที่ต้องการออกแบบน้ำหอมเพื่อการช่วยเพิ่มความประทับใจและการจดจำของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด



ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับผลิตน้ำหอม และการสร้างแบบ brand identity ด้วยน้ำหอม

Featured Posts

Recent Posts

Archive

Search By Tags

Follow Us

  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page